เมนู

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่
เป็นวิบาก ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจปุเรชาตปัจจัย.

10. ปัจฉาชาตปัจจัย


[151] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

11. อาเสวนปัจจัย


[152] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน, โคตรภู
เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
2. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.